HOT ไม่แผ่วสำหรับแฟชั่นแบรนด์ไทยที่กำลังเป็นกระแสอยู่ ณ ตอนนี้ เมื่อศิลปินหญิงระดับโลกอย่าง “ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล” เลือกสวมใส่ เข้าร่วมงานอาฟเตอร์ปาร์ตี้ Monaco F1 Grand Prix 2024 ประเทศฝรั่งเศส จากแบรนด์ “PIPATCHARA” ที่มีเอกลักษณ์การออกแบบชุดและแอคเซสเซอรี่เฉพาะตัว จากฝาขวดพลาสติกรีไซเคิล ตามคอนเซปต์ Sustainability โดยชุดที่ลิซ่าเลือกสวมใส่ในครั้งนี้สร้างสรรค์ขึ้นมาจากฝาขวดพลาสติกและกล่องข้าวพลาสติกสีใสที่ ประกอบด้วย Infinitude 1,800 ชิ้น ฝาขวดน้ำ 800 ฝา และกล่องพลาสติกใส 60 กล่อง โดดเด่นด้วยการไล่ระดับเฉดสีจากอ่อนไปเข้มเรียกได้ว่าสวยสะดุดตาแบบทุกคนต้องหยุดมองกันเลยทีเดียว Issara Life EP.นี้ ขอพาท่านผู้อ่านร่วมพูดคุยกับเจ้าของแบรนด์ “PIPATCHARA” ผู้สร้างสรรค์ผลงานแบรนด์ไทยดังไกลไปสู่ระดับโลก กับคุณเพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา Co-Founder / Creative Director ที่จะมาเล่า ประวัติความเป็นมาของ “PIPATCHARA” และทำไมถึงให้ความสำคัญกับเรื่อง Sustainable ในการสร้างแบรนด์
ความเป็นมาของแบรนด์ PIPATCHARA
แบรนด์ “ภิพัชรา” (PIPATCHARA) เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2018 เราอยากพัฒนาให้เป็น Sustainable Brand นั่นก็คือ Fashion for Community เนื่องด้วยเพชร และคุณทับทิม-จิตริณี แก้วจินดา (พี่สาว) Co-Founder / Sustainable Director ที่มีความชอบในงานอาร์ตแอนด์คราฟต์ เลยเริ่มต้นจากความชอบงานอาร์ตแอนด์คราฟต์ หรืองานหัตถกรรม ที่นำมาเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์โดยที่เพชร มีความเป็น Fashion และคุณทับทิม (พี่สาว) มีความเป็น Creative Sustainability เลยได้มีการนำความถนัดทั้งสองด้านมาผสมผสานกัน เป็นสิ่งที่อยากให้แบรนด์มีส่วนร่วมกับชุมชนในการทำงานกับเรา โดยที่เราใช้งานหัตถกรรมเป็นงานหลักในการทำงานของแบรนด์ “PIPATCHARA” ค่ะ
Passion & Inspiration ในการทำแบรนด์ PIPATCHARA
เริ่มต้นคือมีแรงบันดาลใจมาจากงานอาร์ตแอนด์คราฟต์ อีกทั้งส่วนตัว และพี่สาวก็มีความชื่นชอบในเรื่องงานหัตถกรรมมากๆ โดยผลงานแรกๆ ที่ทำคืองานถัก “แมคคราเม่” (Macramé) ที่เป็นงานถักที่มาจากประเทศโมร็อกโก เป็นตัวฐานหลักสำคัญที่สร้าง Inspiration ของ Collection แรกๆของทาง “PIPATCHARA” และมีการตอบโจทย์มาเรื่อยๆ ในเรื่องของการทำ Collection เราใช้ “แมคคราเม่” (Macramé) เป็นตัวฐานสำคัญของการสร้างสรรค์ Collection อื่นๆ ต่อไป
ที่มาของการเลือกสีที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์
แต่ละ Product ของแบรนด์ อย่างแรกอยากจะเล่าที่เรามีความชื่นชอบส่วนตัว ส่วนตัวเพชรเองมีความชื่นชอบในส่วนของงานหนังอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นกระเป๋าส่วนใหญ่เราจะใช้ “แมคคราเม่” (Macramé) มาเป็นงานหัตถกรรมที่มีส่วนผสมของหนัง ซึ่งสีหลักๆจะเป็นสี Natural ไม่ว่าจะเป็นสีนู้ด สีขาว สีครีม สีไข่ไก่ และสีเบจ จริงๆ ถ้าสังเกตดีๆ สีเข้ม เช่น สีดำ หรือ สีน้ำเงิน จะใช้ในช่วง Collection แรกๆ ซึ่งจะไม่ได้มีการผลิตเยอะมาก จะเป็นสีที่ Add-in เข้ามา หรือสี Addition Color สีหลักจะเป็นสี Natural สีเขียวขี้ม้า และสีอ่อนเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่สำคัญในเรื่องหัตถกรรม ถ้าเป็นสีอ่อนจะทำให้เห็นความชัดเจนกว่าในเรื่อง Detail Product
เหตุผลที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง Sustainable มาใช้ในการสร้างแบรนด์
เนื่องด้วยพี่สาว (คุณทับทิม) ให้ความสำคัญ และพูดถึงเรื่องพลาสติกกำพร้ามาเป็นเวลาค่อนข้างนาน สิ่งสำคัญของขยะกำพร้านั่นก็คือ ฝาขวดน้ำพลาสติก, พลาสติก หรือช้อนซ้อมพลาสติก รวมไปถึงพวก Full Tupperware หรือ Full Container เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ค่อยให้ความสนใจ และที่สำคัญคือมีเยอะมากๆ ในท้องตลาด ถ้าเป็นไปได้ อยากให้เรานำมาใช้ในงานแฟชั่น ซึ่งก่อนหน้านี้เพชรคิดว่ามันน่าจะยาก แต่ด้วยผลกระทบจากทางโควิด-19 ทาง “PIPATCHARA” เองมีระยะเวลาในการพัฒนาค่อนข้างเยอะ เลยทำให้เรานำเรื่อง Sustainable ขึ้นมาเพื่อ Celebrate ปี 2022 ในเรื่องสิ่งแวดล้อมโลก แต่จริงๆแล้ว Sustainable Project Collection ใช้เวลาทำถึง 2 ปีเต็ม สำหรับการพัฒนางานที่เป็นระยะเวลาการทำงานค่อนข้างนาน ส่วนในเรื่องของการผสมสีทางเรามีการผสมอยู่แล้วในการไล่เฉดสีให้ออกตรงตามความต้องการ รวมไปถึงในส่วนของสีออแกนิคดด้วยค่ะ ซึ่งเราต้องนำขยะเหล่านั้นมาผสมสีกัน เพื่อทำการหลอมเหลวให้พลาสติกได้ขึ้นรูปชิ้นงานใหม่และออกมาเป็นตัวชิ้นงานค่ะ
แนวคิดในการเลือกวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิต Product
วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิต Product อาจจะมีหลากหลาย Collection ตอนแรกมีการใช้เป็นหนังวัว รวมไปถึงหนัง Cactus ที่ทำจากหนังต้นกระบองเพชร ซึ่งเป็นความชื่นชอบในฝั่งของคนที่เป็นวีแกน ที่ไม่ชอบหนังวัว แต่สิ่งสำคัญหลังจากนั้น เราไม่ได้มีแค่หนังอย่างเดียว เรามีการคัดสรรประเภทของ Plastic Recycled ที่เรียกว่าขยะกำพร้า อาทิ ฝาน้ำพลาสติก ,Full Container สีดำ สีใส, ช้อนซ้อมพลาสติกแบบอ่อน โดยจะขึ้นอยู่กับ Product Line ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ด้านแมคคราเม่ ผสมกับหนังวัว และส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นเรื่องของ Infinitude ที่ใช้ในเรื่อง Plastic Recycled ที่เป็นวัสดุหลักของ Collection “PIPATCHARA” ค่ะ
ด้วย Product เป็นงานฝีมือ และประณีต ขั้นตอนการผลิตแต่ละชิ้น เป็นอย่างไร
Product ที่มาจากงานฝีมือ ที่มี Inspiration มาจากที่ “PIPATCHARA” เองอยากจะเป็น Fashion for Community เราอยากจะให้ชุมชนต่างๆ มีส่วนร่วม เพราะฉะนั้นในช่วงแรกที่เพชร และพี่สาว (คุณทับทิม) ขึ้นไปทางภาคเหนือ เพื่อสอนการถักแมคคราเม่ให้กับทางคุณครูที่อยู่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดแม่ฮ่องสอน, จังหวัดเชียงราย คุณครูจะได้เรียนรู้กับเรา และอีกอย่างเราก็มีการเรียนรู้กับทางคุณครูเขาด้วยว่าอะไรที่ง่ายขึ้น และยาก และต้องแก้ไข เพราะฉะนั้นมันเหมือนเป็นการทำงานร่วมกันมากๆ สำหรับ “PIPATCHARA” และคุณครูในชุมชน แต่สิ่งสำคัญมันไม่ได้ประณีตแค่เชือกถัก จึงได้มีการต่อยอดมาจาก Collection ปัจจุบัน ในเรื่องของ Infinitude หรือว่ากระเป๋าที่ต่อจากพลาสติก และได้นำความรู้จากการต่อพลาสติกขึ้นไปสอนให้กับคุณครูที่จังหวัดเชียงราย เป็นการเพิ่มชุมชน เนื่องจากชุมชนเดิมนั้นเป็นงานเชือกถัก ชุมชนใหม่เป็นงานต่อพลาสติกมากกว่า เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ แล้วมันเป็นสิ่งสำคัญอยู่แล้ว และเป็น Inspiration ของ “PIPATCHARA” ตั้งแต่ปี 2018 จนถึงปัจจุบัน
ระยะเวลาในการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชิ้น
ระยะเวลาในการทำ Product “PIPATCHARA” จะใช้เวลาประมาณ 3-4 อาทิตย์ ขึ้นอยู่กับแบบ และสี ต่างๆ ซึ่งถ้าเป็น Product แรกๆ ที่เป็นเรื่องของเชือกถัก เราก็จะมีการเตรียมสต๊อกไว้เผื่อ ซึ่งเดี๋ยวนี้อาจจะต้องมีการ Customize แต่จะใช้ระยะเวลา 25 วัน ถึง 1 เดือน แต่ในเรื่องของ Plastic Recycled บางทีขยะที่ไม่มีอยู่ในท้องตลาดตอนนี้ อาจจะเกิดการ Sold Out นานหน่อย ต้องมีการรอของ 45 วัน หรือ 1-2 เดือน แต่ถ้ามีของแล้ว และมีการต่อพลาสติกจากคุณครู จากจังหวัดเชียงราย ก็จะมีการรอ 25 วัน ถึง 1 เดือน ค่ะ
การตอบรับของแบรนด์เป็นอย่างไร
ในเรื่องการตอบรับของแบรนด์ “PIPATCHARA” คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจมากขึ้นว่าแบรนด์เราทำอะไร ตั้งแต่ปี 2018 และมี Product ไหนบ้างที่เราทำร่วมกับชุมชน โดยจะให้เราแนะนำ เช่น การทำ “แมคคราเม่” กระเป๋าที่เป็นรุ่น JADE BAG เป็น Size ที่ขายได้ค่อนข้างเยอะ มีความตอบโจทย์ลูกค้าที่อยากมีส่วนร่วมในส่วนของ Fashion for Community ส่วนในเรื่องของสี เราทำออกมาค่อนข้างเยอะมากๆ ประมาณถึง 20 สี เพราะฉะนั้นในการเลือกของลูกค้า เขารู้สึกว่าได้มี Option ค่อนข้างเยอะเลยเป็นการตอบรับของลูกค้าค่อนข้างดีสำหรับตัวแรกที่เป็นการถัก “แมคคราเม่”
ตัวที่สองที่ได้รับการตอบรับก็คือตัว Infinitude ที่มาจากขยะกำพร้า เป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจและเข้าใจ ในเรื่องวัสดุที่ใช้จากฝาขวดน้ำ, ฝาขวดนม และ Full Container สีดำ หรือสีขาว เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่นิยม ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่ายกับสิ่งที่เขาใช้ และบริโภค แล้วนำมาทำกระเป๋าของเขา เขาสามารถได้ถือในแต่ละชิ้น ในแต่ละวัน ทำให้เขารู้ว่ามันสำคัญต่อเขา เลยทำให้ผลตอบรับค่อนข้างดีทีเดียวค่ะ
สำหรับ “PIPATCHARA” เรามีเปิดสาขาที่ The Emsphere ชั้น M Floor ถือว่าเป็น Success Flow ที่แรกของประเทศไทย และก็มี Pop Up Store สามารถแวะไปชมได้ที่ชั้น M เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งเปิดมาได้ยังไม่ถึง 1 เดือน ในส่วนแผนการขายที่ขยายไปประเทศอื่นๆ เรามี Partner และ Distributor อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นที่ประเทศญี่ปุ่นก็จะมี Pop Up Store Sometime Full-Time ค่ะ สาขาล่าสุดจะอยู่ที่ Shibuya, Isetan และนอกจากนี้เรายังมีการขยายตลาดไปในประเทศญี่ปุ่น, ดูไบ, สหรัฐอเมริกา และประเทศฝั่งยุโรป ซึ่งในฝั่งยุโรป เราจะเน้นที่ประเทศเดียวนั่นก็คือ ประเทศฝรั่งเศส
แผนการพัฒนา ต่อยอด Product ใหม่ๆ
Product เรายังให้ความสำคัญในเรื่องของการทำงาน Fashion กับ Community โดย Product หรือชิ้นงานต่อไป ก็อยากมีการทำเป็นงานหัตถกรรม และก็สิ่งที่ทำให้ชุมชนสามารถช่วยเราได้อยู่ และสามารถมาเป็น Collection ส่วนหนึ่งของเราด้วยค่ะ เพราะฉะนั้นแล้ว Product “PIPATCHARA” ต่อไป เราก็ยังคงความเป็นชุมชน ส่วนในเรื่องของ Sustainability เราเองจะพยายามเข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ที่เราได้ลองพัฒนา Product ขึ้นมา ก็เชื่อว่าเป็นอีกพลังช่วยแก้ปัญหาชุมชน สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังทำให้แบรนด์เราเป็นที่รู้จัก ทำให้คนสนใจ ในเรื่อง ขยะกำพร้า ดังนั้นในอนาคต “PIPATCHARA” ก็มองเห็นว่า ถ้ามีปัญหาอะไรที่เราควรจะแก้ไขเราเองก็อยากเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา
และนี่ก็คือตัวอย่างของแบรนด์แฟชั่นของคนไทย ที่ต้องยอมรับว่าผลงานที่ทำออกมานั้นนอกจากความสวยงาม แต่ยังสร้างคุณค่าทางจิตใจ และจิตสำนึกที่ดีให้กับผู้ใช้ได้อีกด้วย รวมถึงยังสร้างความตระหนักให้ทุกคนได้เห็นถึงประโยชน์ของขยะกำพร้า ว่าสามารถนำมาต่อยอดในเรื่อง Sustainability ที่เป็นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อีกด้วย
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก
Instagram: PIPATCHARA